เชลยคนหนึ่งจำบุญผ่องได้ เขาบอกว่า"บุญผ่องเป็นพ่อค้าที่ค้าขายสินค้าในราคาถูกมากๆ เอากำไร เพียงน้อยนิด เท่านั้น!!! "
เพียงแค่นี้หรือ...!!!???
เขาไม่รู้เลยว่านายบุญผ่องพ่อค้าทางน้ำชาวไทยจากปากแแพรก คนที่เขาเอ่ยถึงนี้หละ ตลอดเวลาที่ผ่านมาเขาเสี่ยงตายลักลอบนำอาหาร ยาและอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น มาให้หมอเวรี่ที่ค่ายเขาช่องไก่ เพื่อดูแลเชลยต่างชาติที่ทำงานบนเส้นทางรถไฟสายมรณะสายนี้...เพียงเพื่อ่มนุษย์ธรรม!!!
นอกจากนี้เขายังช่วยให้เชลยมีเสื้อผ้าและยารักษาโรค และให้เงินพวกเขาเพื่อซื้ออาหารในช่วงวัน
คริสต์มาส เรียกได้ว่าช่วยกันอย่างถึงที่สุด
ด้วยยาและอุปกรณ์การแพทย์ที่บุญผ่องมอบให้กับเชลยเหล่านี้ผ่านทางหมอเวรี่ ทำให้อัตราการตายของเชลยลดลงจากวันละ 5 คนในเดือนพฤษภาคม 1983 กลายเป็น 1 คน ต่อสัปดาห์ในเดินพฤศจิกายน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดีที่มีค่าอย่างมหาศาล
แม้จะมีอันตรายแต่บุญผ่องและผณีลูกสาว ก็ยังคงลักลอบนำสิ่งของมาช่วยชีวิตผู้คนในค่ายเชลยต่อไป
หมอเวรี่ได้เอ่ยถึงความช่วยเหลือของคนไทยในยามศึกสงคราม โดยพูดถึงวีรกรรมนายบุญผ่องว่าเป็นเจ้าของร้านที่ต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายในการลักลอบขนเงินและยา รวมถึงแบตเตอรี่วิทยุสื่อสาร โดยแอบใส่ไว้ในเข่งผักที่เขาได้สัมปทานการค้าในเขตค่ายเชลยริมน้ำของญี่ปุ่น
เรื่องราวเหล่านี้หมอเวรี่ไม่ได้ให้ใครฟังเลยในช่วงสงครามเพราะเกรงว่านายบุญผ่องเพื่อนเกลอและครอครัวจะได้รับอันตราย แม้กระทั่งเพื่อนสนิทและคนในกลุ่มของเขา...เขาก็ไม่เล่าให้ฟัง...
จวบจนสิ้นสุดสงครามทั้งสองคนยังรอดตายจากหายนะภัย WW2 เรื่องราวเหล่านี้จึงได้รับการเปิดเผยเป็นครั้งแรก จากหมอเวรี่ผ่านหนังสือพิมพ์ The Canberra Times ในปี 1950
สองเกลอหัวแข็ง บุญผ่อง ณ ปากแพรก...หมอเวรี่ ณ ช่องไก่ ...วีรบุรุษในดวงใจของชาวต่างชาติ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น