วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

สงคราม ความตาย และมนุษยธรรม



สงครามเริ่มขึ้นแล้ว...กันยายน พ.ศ. 2482 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 8 ขณะนั้นเสด็จประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี

8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน

กันยายน  2485 ญี่ปุ่นต้องการอาศัยประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าเพื่อยึดอินเดีย โดยเริ่มสร้างทางรถไฟสายมรณะระยะทาง 415 กิโลเมตร จากราชบุรี กาญจนบุรี ไปพม่า ผ่านผืนป่าอันน่าสะพรีงกลัวมากมาย 


คนงานและเชลยศึกหลายหมื่นคนถูกเกณฑ์มาเพื่อภาระกิจนี้ พวกเขาทำงานตลอดวันตลอดคืน คนงานและเชลยศึกเหล่านั้นมีทั้งพม่า ชวา มลายู อังกฤษ ออสเตรเลีย และฮอลแลนด์ เจ็บปวดล้มตายและทรมาน ขาดทั้งอาหารและยา เป็นที่สมเพทเวทนาของคนไทยในสมัยนั้น

บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ คหบดีแห่งร้าน"บุญผ่อง แอนด์ บราเดอร์ "นายกเทศมนตรี วัย 40 ปี แห่งจังหวัดกาญจนบุรี  ผู้มีฐานะร่ำรวย รูปร่างสันทัด เคร่งขรึม เฉลียวฉลาด ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ และใจบุญในแบบคนไทย


ใครจะคิดว่าชายผู้นี้จะนำพาชีวิตและครอบครัวเข้าไปร่วมเสี่ยงตาย เพียงแค่เห็นใจในความเป็น" เพื่อนร่วมโลก" กับเชลยสงครามที่ตนเองไม่เคยรู้จักมาก่อน...สงครามที่มีทั้ง ความตาย และมนุษยธรรม อยู่ร่วมกัน

...สงครามทางรถไฟสายมรณะ...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น