วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

บุญผ่อง...ล่องเรือ



เช้าวันที่ 5 กรกฎาคม 2485 หลักหมุดต้นแรกถูกตอกลงที่สถานีหนองปลาดุก ราชบุรี เชลยสงครามถูกเกณฑ์มาอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างทางรถไฟไปสู่พม่า...การค้าจึงเริ่มขึ้น...

บุญผ่องเป็นนายกเทศมนตรี เป็นพ่อค้าท้องถิ่นของปากแพรก กาญจนบุรี เคยค้าไม้หมอนรถไฟให้กับญี่ปุ่น และสุดท้ายเป็นผู้ได้รับสัมปทานผูกขาดจากญี่ปุ่นในการจัดหาอาหารให้แก่เชลยที่อยู่ตามค่ายริมแม่น้ำ  โดยญี่ปุ่นต่อรองจนได้กำไรเพียงเล็กน้อย...แต่เขาก็ยินดีที่่่่่่่่จะทำ...

  
เขาใช้เรือในการส่งของไปยังค่ายเชลยต่างๆขื้นล่องไปตามแม่น้ำแควน้อย  จนได้ชื่อว่า “บุญผ่อง...พ่อค้าขายของชำแห่งลำน้ำแควน้อย”

...แต่นี่เป็นเพียงทำธุรกิจบังหน้าเพื่อตบตาทหารญี่ปุ่น...เท่านั้น!!!

หลายครั้งในการเดินทาง บุญผ่องได้พาผณีบุตรสาววัย 14 ปี ล่องไปตามลำน้ำด้วย …

ผณีบุตรสาวตัวน้อยที่มักติดสอยห้อยตามไป มักจะชอบร้องเพลงญี่ปุ่น ในขณะที่บุญผ่องส่งของให้กับค่ายเชลยสงคราม และแอบมอบเงินให้ยากับเชลยเหล่านั้น

...หรือการร้องเพลงของผณีจะเป็นเพียงกลยุทธเบี่ยงเบนความสนใจที่ใครๆคาดไม่ถึง…

และสิ่งที่น่าทึ่งไปกว่านั้นก็คือก่อนหน้าที่จะมีสงคราม เขาไม่เคยติดต่อค้าขายกับชาวยุโรปมาก่อนเลย …ฉะนั้นไม่มีเหตุที่จะต้องช่วย นอกจากความมีมนุษยธรรมในจิตใจเท่านั้น...

 



“ เขาเสี่ยงที่จะล่องขึ้นล่องลงพร้อมๆกับอาหารและเวชภัณฑ์ ….เขาคือวีรบุรุษ...เขาเป็นบุคคลที่ควรจะได้รับดาบอัศวินจากสิ่งที่เขาทำ เพราะกว่าพันครั้งที่เขายอมเสี่ยงชีวิตเพื่อเชลย …พวกเราเห็นเขาล่องเรือมาเพียงไม่กี่ครั้ง  แล้วพวกเราก็มียาควินนินกินกัน...”


เชลยสงครามหลายคนกล่าวยกย่องบุญผ่อง หลังสงครามสิ้นสุดลง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น