วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

บุญผ่่อง ตำนานแห่งแม่น้ำแคว



Keith Flanagan อดีตทหารเชลยที่ถูกเกณฑ์ให้มาทำงาน ณ ทางรถไฟไทยพม่า เมื่่อรอดชีวิตกลับมาเขาทำงานเป็นนักข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ BCON (British Commonwealth Occupation Newspaper)

ในปี 1985 เขาเกษียรและเริ่มที่จะบอกเล่าเรื่องราวในชืวิตเขา โดยได้จัด Weary Dunlop ทัวร์ หรือ the forerunner of The Quiet Lion tours


เป็นทัวร์ครั้งแรกที่ไดัพาชาวออสเตรเลียย้อนรอยเส้นทางรถไฟสายมรณะ ที่เขาและคนอื่น ๆ รวมถึงหมอเวรี่ (Weary Dunlop) ที่ได้เข้าไปในป่าไทยเพื่อสร้างทางรถไฟสายมรณะในปี 1943



ณ ช่วงเวลานั้นหมอเวรี่ หรือคนที่เหล่าเชลยสงครามขนานนามว่า "the King of the River (Kwai)" ได้เล่าถึงวิธีการที่พ่อค้าไทยคนหนึ่งนามว่า "บุญผ่อง" ผู้ได้เสี่ยงเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อนำเงินและเวชภัณฑ์เข้าไปในค่ายเชลย

หลังจากนั้นเขาจึงได้จัดตั้งมูลนิธิ the Weary Dunlop-Boonpong Exchange Fellowship ขึ้นเพื่อระลึกถึงหมอเวรี่และนายบุญผ่อง โดยให้ทุนช่วยเหลือนักศึกษาศัลยแพทย์ไทยให้ไปเรียนในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 60 คนแล้วที่ได้รับทุนนี้


และในช่วงท้ายของชีวิต Keith Flanagan ได้เสียสละเงินทุกบาททุกสตางค์ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวหมอเวรี่และนายบุญผ่อง..



ด้วยเหตุนี้ชาวต่างชาติมากมายจึงได้รู้จักนายบุญผ่องมากขึ้น  อีกทั้งยังมีการสร้างสารคดี "บุญผ่่อง ตำนานแห่งแม่น้ำแคว" ขึ้นมาอีกด้วย


บุญผ่อง...วีรบุรุษชาวไทยที่ต่างชาติรู้จักดี แต่คนไทยไม่รู้จักเขา...

บุญผ่อง...ผู้แอบนำเวชภัณฑ์เข้าค่ายกักกันเชลยในประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยไม่กลัวความตายที่จะมาถึงหากญี่ปุ่นรู้

แต่ทั้งๆที่เขารู้เขาก็ยังแอบทำต่อไปเป็นร้อยเป็นพันครั้ง...

คำว่าฮีโร่ หรือวีรบุรุษ คงน้อยไปสำหรับเขา...และเรื่องแบบนี้ใครจะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง...ช่างเหลือเชือ!!! สุดท้ายเขาจะกลายเป็นตำนาน...

"บุญผ่่อง สิริเวชพันธ์ ตำนานแห่งแม่น้ำแคว"

 


Senator John Williams กับวัน Anzac 2010


เมื่อวัน Anzac 2010 ...Senator John Williams เล่าว่า

เราได้ร่วมเดินทางไปกับอดีตสี่เชลยศึกมาสุสานทหารสัมพันธมิตร เมืองกาญจนบุรี

น่าแปลกใจ!!! เมื่อ 2-3 เดือนก่อน ก่อนที่ฉันจะมาเมืองไทย Cliff ได้เขียนจดหมายถึงฉัน แล้วบอกว่า
"John เราจะมาเมืองไทย แล้วจะไปพบใครที่ร้านบุญผ่องหรือป่าว"

ฉันไม่รู้ว่าใครคือบุญผ่อง  ไม่รู้ว่าร้านเขาอยู่ที่ไหน

อีกครั้งที่ฉันต้องขอความช่วยเหลือจาก Bill Slape แห่งพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด

เขาตอบอีเมล์ฉัน และอธิบายว่า



" ที่ร้านนี้นะ ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บุญผ่องเจ้าของร้านแห่งนี้ได้แอบลักลอบเอายารักษาโรคให้กับเชลย เขาก็เป็นคนที่มีนิสัยแบบหมอเวรี่นี่หละ..

เขาซ่อมวิทยุให้ แอบมอบยา ไม่เพียงแต่วิทยุนะ แต่ยังมีผักผลไม้ด้วย ...


เขามีลูกสาวอายุ 14 ปี ที่มีแววตาอันน่าทึง...ลูกสาวเขาจะมาด้วยกับเขาเสมอหละ  ไอ้เจ้าพวกทหารญี่ปุ่นจะมองลูกสาวเขามากกว่าที่จะให้ความสนใจว่ามีอะไรอยู่ในวิทยุหรือผลไม้และผัก

ดังนั้นบุญผ่องคนนี้แหละ ที่ช่วยชีวิตผู้คนมากมายด้วยการแอบมอบยา ผ้าพันแผล และเวชภัณฑ์

เขาเป็นคนที่สุดยอดมากไม่ต่างอะไรกับท่านเซอร์ (Ernest) Edward Dunlop ที่คนทั่วไปรู้จักเขาในนามหมอเวรี่ (Weary Dunlop.)...นั้นแหละ!!!!"


หลัง 10 โมงเช้าเมื่อพิธีการช่วงเช้า(ของวันแอคแชค)สิ้นสุดลง พวกเราไปที่ร้านบุญผ่องซึ่งทุกวันนี้ยังมีอยู่ และได้พบกับน้องสะใภ้ของเขา


เป็นเรื่องดีนะ ที่ Cliff  ได้เดินเข้าไปไนร้าน แล้วเห็นภาพบุญผ่องกับหมอเวรี่ แล้วมองย้อนไปที่เรื่องราวในประวัติศาสตร์...

มันเป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญสำหรับ Cliff  เราพาล่ามของสถานฑูตออสเตรเลียที่กรุงเทพมาด้วย...ต้องขอบคุณล่ามคนนี้มากเชียวหละ

Cliff  ได้มองย้อนไปในอดีตแห่งความทรงจำของเขาและขอบคุณญาติๆของบุญผ่อง สำหรับที่นายบุญผ่องได้ช่วยเหลือเชลยสงคราม ณ เวลานั้น ...


John Williams (NSW, National Party) Tuesday, 22 June 2010 8:10 pm



วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

บุญผ่อง...คนดีที่น่ายกย่อง?



ผศ.วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์เมืองกาญจน์ และผู้แต่งหนังสือ "สงครามมหาเอเชียบูรพา กาญจนบุรี"เล่าว่า

 “ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเหตุที่ทําการค้าผูกขาดกับญี่ปุ่น ทําให้นายบุญผ่องได้พูดคุยกับเชลยศึกที่มารับของบ่อยครั้ง จึงได้รับรู้ถึงความทุกข์ยากและสนิทสนมกับเชลยศึกเหล่านั้น จนได้แอบให้ความช่วยเหลือเชลยศึกซึ่งถือเป็นเรื่องเสี่ยงตายเป็นอย่างมาก

อาทิ ช่วยให้เชลยศึกยืมเงินในกรณีขัดสน โดยไม่กลัวว่าจะถูกโกง จัดหาเวชภัณฑ์ต่างๆ เครื่องใช้
ถ่านไฟฉาย ยาสีฟัน เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ส่วนประกอบเครื่องวิทยุสื่อสาร รวมถึงแอบส่งจดหมายให้กับเชลยศึกโดยซุกซ่อนไว้ในห่อ เข่งผักผลไม้ หรือเครื่องใช้ต่างๆที่ญี่ปุ่นมารับไปทุกวัน

การแอบช่วยเหลือเชลยศึกอย่างไม่คิดชีวิตของนายบุญผ่อง ทําให้พวกเชลยศึกซาบซึ้งเป็นอย่างมากจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง นายบุญผ่องก็ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากรัฐบาลออ สเตรเลีย และอังกฤษพร้อมทั้งได้รับยศเป็นพันโทในกองทัพอังกฤษ และได้ถูกยกย่องให้เป็น "วีรบุรุษสงครามของทางรถไฟสายมรณะ" (A War Hero Named Boonpong of Deathrailway) มาจนถึงทุกวันนี้ ”

หรือการพูดคุยกับเชลยบ่อยๆทำให้บุญผ่องเกิดความเห็นใจ จึงตัดสินใจเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยคนที่ตนเองไม่รู้จักจะเป็นจริง...แต่มีประเด็นอยู่นิดหนึ่งคือ นายบุญผ่องอาจจะตัดสินใจเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนที่จะค้าขายกับญี่ปุ่น เพื่อเอาการค้าบังหน้า จะได้แอบช่วยเหลือก็เป็นได้...



แต่ถึงอย่างไร การเสี่ยงชีวิตแบบไม่กลัวตายเช่นนี้ ปากแพรก กาญจนบุรี ก็เห็นจะมีแต่นายบุญผ่องคนดีนี่หละที่น่ายกย่องให้เป็นบุคคลตัวอย่าง...แต่ทำไมคนเมืองกาญจน์เขาไม่ยกย่องกันนะ...น่าสงสัยจุงเบยยย...ฮึๆๆ

บุญผ่อง...ฮีโร่ในดวงใจ



1 ศพ ต่อ 1 ไม้หมอนที่รองรางรถไฟ" ไม่ใช่่คำพูดที่เกินไปจากความจริงเลย  ทหารญี่ปุ่นใช้ทหารเชลยเป็นทาสในการก่อสร้างทางผ่านป่าหนาทึบและภูเขา ชีวิตเชลยศึกเหล่านั้นพากันล้มตายมากมาย เพราะทำงานหนักและโรคภัยไข้เจ็บที่ชุกชุม โดยเฉพาะไข้ป่า หรือการขาดอาหารตายก็เป็นเรื่องธรรมดา

คงยากนะที่จะหาทหารญี่ปุ่นใจบุญกับฝ่ายตรงข้ามในยามสงครามเช่นนี้...


"พี่เขาเห็นใจเชลยสงครามที่ต้องทุกข์ทรมานในค่าย ทั้งความอดอยาก ไข้ป่า รวมถึงความโหดร้ายของทหารญี่ปุ่น"
ป้าลำใยน้องสะใภ้นายบุญผ่องเล่าให้ใครๆฟัง ถึงเรื่องราวแต่หนหลัง ที่ทำให้นายบุญผ่องต้องตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง

ใช่!!!เขาตัดสินใจยอมเสี่ยงตาย ลักลอบมอบเวชภัณฑ์เพื่อรักษาชีวิตเชลยศึกไว้...


แม้กระทั่ง บุหรี่ ยาและอาหาร เขาก็เป็นคนจัดการลักลอบเอามาให้จากกรุงเทพ...เงินสดจะถูกบรรจุอยู่ในกล่องสำหรับยาสูบไทยพื้นเมือง และกล่องถูกปิดผนึกไว้แล้วด้วยอากรแสตมป์รัฐบาลอย่างเป็นทางการและฝากไว้ในโรงอาหาร

อีกทั้งยังช่วยให้เชลยมีเสื้อผ้าและยารักษาโรค และให้เงินพวกเขาเพื่อซื้ออาหารในช่วงวันคริสต์มาส
เขายังคอยดูแลเชลย และให้ยืมเงินด้วยการจำนำนาฬิกาและเครื่องประดับ และเก็บไว้ให้เพื่อรอการแลกคืนเมื่อสงครามสิ้นสุด


ตลอดสงครามโลกครั้งที่ 2 คนไทยได้ให้ความช่วยเหลือเชลยสงครามเรื่อยมา แต่นายบุญผ่อง สิริเวชพันธ์ ถือเป็นบุคคลพิเศษที่ได้รับการจดจำเป็นอย่างดีจากเชลยสงครามในสมัยนั้น …

“เขาคือฮีโร่ในดวงใจของทหารต่างชาติ” ...หมอเวรี่เล่าให้ใครๆฟังด้วยความภูมิใจที่มีเพื่อนแบบนายบุญผ่อง

แต่สำหรับเรา...

บุญผ่อง...คือ..."ฮีโร่ในดวงใจ...ที่คนไทยลืมเลือน" ...ไม่เชื่อลองไปถามคนบนถนนปากแพรกดูซิ!!!




บุญผ่อง...ล่องเรือ



เช้าวันที่ 5 กรกฎาคม 2485 หลักหมุดต้นแรกถูกตอกลงที่สถานีหนองปลาดุก ราชบุรี เชลยสงครามถูกเกณฑ์มาอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างทางรถไฟไปสู่พม่า...การค้าจึงเริ่มขึ้น...

บุญผ่องเป็นนายกเทศมนตรี เป็นพ่อค้าท้องถิ่นของปากแพรก กาญจนบุรี เคยค้าไม้หมอนรถไฟให้กับญี่ปุ่น และสุดท้ายเป็นผู้ได้รับสัมปทานผูกขาดจากญี่ปุ่นในการจัดหาอาหารให้แก่เชลยที่อยู่ตามค่ายริมแม่น้ำ  โดยญี่ปุ่นต่อรองจนได้กำไรเพียงเล็กน้อย...แต่เขาก็ยินดีที่่่่่่่่จะทำ...

  
เขาใช้เรือในการส่งของไปยังค่ายเชลยต่างๆขื้นล่องไปตามแม่น้ำแควน้อย  จนได้ชื่อว่า “บุญผ่อง...พ่อค้าขายของชำแห่งลำน้ำแควน้อย”

...แต่นี่เป็นเพียงทำธุรกิจบังหน้าเพื่อตบตาทหารญี่ปุ่น...เท่านั้น!!!

หลายครั้งในการเดินทาง บุญผ่องได้พาผณีบุตรสาววัย 14 ปี ล่องไปตามลำน้ำด้วย …

ผณีบุตรสาวตัวน้อยที่มักติดสอยห้อยตามไป มักจะชอบร้องเพลงญี่ปุ่น ในขณะที่บุญผ่องส่งของให้กับค่ายเชลยสงคราม และแอบมอบเงินให้ยากับเชลยเหล่านั้น

...หรือการร้องเพลงของผณีจะเป็นเพียงกลยุทธเบี่ยงเบนความสนใจที่ใครๆคาดไม่ถึง…

และสิ่งที่น่าทึ่งไปกว่านั้นก็คือก่อนหน้าที่จะมีสงคราม เขาไม่เคยติดต่อค้าขายกับชาวยุโรปมาก่อนเลย …ฉะนั้นไม่มีเหตุที่จะต้องช่วย นอกจากความมีมนุษยธรรมในจิตใจเท่านั้น...

 



“ เขาเสี่ยงที่จะล่องขึ้นล่องลงพร้อมๆกับอาหารและเวชภัณฑ์ ….เขาคือวีรบุรุษ...เขาเป็นบุคคลที่ควรจะได้รับดาบอัศวินจากสิ่งที่เขาทำ เพราะกว่าพันครั้งที่เขายอมเสี่ยงชีวิตเพื่อเชลย …พวกเราเห็นเขาล่องเรือมาเพียงไม่กี่ครั้ง  แล้วพวกเราก็มียาควินนินกินกัน...”


เชลยสงครามหลายคนกล่าวยกย่องบุญผ่อง หลังสงครามสิ้นสุดลง



บุญผ่อง .. ANZAC Day




25 เมษายน ของทุกปี ในงาน แอนแซค เดย์ (ANZAC Day) เป็นวันทหารผ่านศึกของประเทศออสเตรเลียและนิซีแลนด์


ANZAC ย่อมาจาก Australian and New Zealand Army Corps ซึ่งเป็นชื่อเรียกกองกำลังทหารออสเตรเลียและนิซีแลนด์ พร้อมด้วยเหล่าทหารจากสหราชอาณาจักร อินเดีย และฝรั่งเศส



สำหรับประเทศไทยจะถือวันนี้เป็นงานรำลึกถึงทหารผู้กล้าและพลเรือนที่เสียชีวิตในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กับงานสร้างทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ณ สุสานสัมพันธมิตรกาญจนบุรี 


แต่ก่อนหน้านั้น ในเวลาเช้ามืดจะจัดที่ช่องเขาขาด หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Hell-Fire Pass จากนั้นในวันกลางวันจะมีพิธีวางพวงหรัดที่สุสานทหารพันธมิตร โดยมีบรรดาญาติพี่น้อง ลูกหลานเดินทางมาจากต่างประเทศเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

ในปี 2555 ฯพณฯ เจมส์ ไวส์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ให้เกียรติร่วมงาน ได้กล่าวสดุดีนายบุญผ่องว่า

 
"...นายบุญผ่อง ผู้แอบนำเอาอาหารและอุปกรณ์การแพทย์ให้แก่เชลยต่างชาติที่ทำงานบนเส้นทางรถไฟสายมรณะ อีกทั้งช่วยชีวิตเชลยไว้ได้หลายพันคน...

 
แม้เขาจะตายไปแล้ว 30 ปี ญาติของเชลยเหล่านั้น ยังคงหลั่งไหลมาเยี่ยมคาราวะที่ร้าน บุญผ่องแอนด์บราเดอร์  อย่างไม่ขาดสาย โดยมีนางลำไยน้องสะใภ้เป็นผู้ให้การต้อนรับและบอกเล่าเรื่องราวของนายบุญผ่่อง  ..."



"The Quiet Lions" บุญผ่องและหมอเวรี่




"The Quiet Lions"เป็นสารคดีความยาว 55 นาที เกี่ยวกับนายบุญผ่องและหมอเวรี่  สารคดีชุดนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจ สร้างเพื่ออุทิศแด่ "Keith Flanagan" ...


ผู้ผลิต และผู้อำนวยการสร้างสารคดีชุดนี้ได้แก่ Robin Newell ออกอากาศทางช่อง  History Channel เมื่อวันที่ 25 เดือนเมษายน 2007



"The Quiet Lions" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชายสองคน ที่เป็นฮีโร่จากทางรถไฟสายมรณะ จังหวัดกาญจนบุรี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยได้แอบเสียงชีวิตช่วยเหลือเชลยสงครามด้วยวิธีการต่างๆอย่างลับๆ

บุญผ่อง สิริเวชพันธ์ ผู้ประกอบการค้าทางน้ำและ ท่านเซอร์ Edward 'Weary' Dunlop หมอศัลยกรรมแห่งค่ายเชลยสงคราม  ที่ร่วมมือกันช่วยเหลือเชลยสงคราม ณ ค่ายเขาช่องไก่






เมื่อปี 1985 Keith Flanagan บอกกับหมอเวรี่ว่า  พวกเขาอยากจะสร้างมูลนิธิชื่อ  Dunlop Weary แล้วมีชื่อต่อท้ายอะไรบางอย่าง

 หมอเวรี่ จึงถามในทันทีว่า " แล้ว ถ้าชื่อตามด้วยบุญผ่องละ!!!"

นั้นแหละ!!! ที่มาของชื่อ มูลนิธิ Weary Dunlop-Boonpong  Exchange Fellowship

 
จะเห็นได้ว่าชื่อมูลนิธินี้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแต่บุคคลทั้งสองที่เป็น "สิงห์โตเงียบ" ผู้คอยช่วยเหลือเชลยสงครามทางด้านยาและอุปกรณ์การแพทย์ตลอดมา โดยให้ทุนการศึกษาแก่หมอศัลยกรรมไทยที่ได้ทุนไปเรียนในออสเตรเลีย เดือนละ 2,500 เหรียญออสเตรเลีย


แม้ว่่าเขาทั้งสองได้ล่วงลับไปแล้ว แต่เรื่องราวแห่งมิตรภาพความสัมพันธ์ของพวกเขายังอยู่ในนาม " Death railway and Weary-Dunlop Boonpong Fellowship Program" ซึ่งเป็นมูลนิธิทุนการศึกษให้แก่ศัลยแพทย์ชาวไทยไปศึกษา ณ ประเทศออสเตรเลีย

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

สองเกลอหัวแข็ง บุญผ่อง...หมอเวรี่





เชลยคนหนึ่งจำบุญผ่องได้ เขาบอกว่า"บุญผ่องเป็นพ่อค้าที่ค้าขายสินค้าในราคาถูกมากๆ เอากำไร เพียงน้อยนิด เท่านั้น!!! "

เพียงแค่นี้หรือ...!!!???

เขาไม่รู้เลยว่านายบุญผ่องพ่อค้าทางน้ำชาวไทยจากปากแแพรก คนที่เขาเอ่ยถึงนี้หละ ตลอดเวลาที่ผ่านมาเขาเสี่ยงตายลักลอบนำอาหาร ยาและอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น มาให้หมอเวรี่ที่ค่ายเขาช่องไก่ เพื่อดูแลเชลยต่างชาติที่ทำงานบนเส้นทางรถไฟสายมรณะสายนี้...เพียงเพื่อ่มนุษย์ธรรม!!!




นอกจากนี้เขายังช่วยให้เชลยมีเสื้อผ้าและยารักษาโรค และให้เงินพวกเขาเพื่อซื้ออาหารในช่วงวัน
คริสต์มาส เรียกได้ว่าช่วยกันอย่างถึงที่สุด


ด้วยยาและอุปกรณ์การแพทย์ที่บุญผ่องมอบให้กับเชลยเหล่านี้ผ่านทางหมอเวรี่ ทำให้อัตราการตายของเชลยลดลงจากวันละ 5 คนในเดือนพฤษภาคม 1983 กลายเป็น 1  คน ต่อสัปดาห์ในเดินพฤศจิกายน   ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดีที่มีค่าอย่างมหาศาล


แม้จะมีอันตรายแต่บุญผ่องและผณีลูกสาว ก็ยังคงลักลอบนำสิ่งของมาช่วยชีวิตผู้คนในค่ายเชลยต่อไป 

หมอเวรี่ได้เอ่ยถึงความช่วยเหลือของคนไทยในยามศึกสงคราม โดยพูดถึงวีรกรรมนายบุญผ่องว่าเป็นเจ้าของร้านที่ต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายในการลักลอบขนเงินและยา รวมถึงแบตเตอรี่วิทยุสื่อสาร โดยแอบใส่ไว้ในเข่งผักที่เขาได้สัมปทานการค้าในเขตค่ายเชลยริมน้ำของญี่ปุ่น

เรื่องราวเหล่านี้หมอเวรี่ไม่ได้ให้ใครฟังเลยในช่วงสงครามเพราะเกรงว่านายบุญผ่องเพื่อนเกลอและครอครัวจะได้รับอันตราย แม้กระทั่งเพื่อนสนิทและคนในกลุ่มของเขา...เขาก็ไม่เล่าให้ฟัง...


จวบจนสิ้นสุดสงครามทั้งสองคนยังรอดตายจากหายนะภัย WW2 เรื่องราวเหล่านี้จึงได้รับการเปิดเผยเป็นครั้งแรก จากหมอเวรี่ผ่านหนังสือพิมพ์ The Canberra Times ในปี 1950
 

สองเกลอหัวแข็ง บุญผ่อง ณ ปากแพรก...หมอเวรี่ ณ ช่องไก่ ...วีรบุรุษในดวงใจของชาวต่างชาติ...






หมอเวรี่...Sir Edward 'Weary' Dunlop



Sir Edward 'Weary' Dunlop  หรือหมอเวรี่ เกิดใน Wangaratta, วิคตอเรีย, เป็นบุตรคนที่สอง เขาเริ่มฝึกงานในร้านขายยาเมื่อเขาเรียนจบและย้ายไปอยู่เมลเบิร์นในปี 1927 

เขาเรียนที่ Victorian College of Pharmacy จากนั้นก็เรียนต่อที่ University of Melbourne, ได้รับทุนการศึกษาแพทย์  จบการศึกษาในปีคศ. 1934 ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาเภสัช และการแพทย์ อีกทั้งยังเป็นนักรักบี้คนดังของมหาวิทยาลัยอีกด้วย


ในปี 1935 เขาสมัครเป็นทหารและประจำการในคณะแพทย์ทหารบกออสเตรเลีย ได้รับยศยศร้อยเอก

พฤษภาคม 1938 หมอเวรี่ออกจากออสเตรเลีย ไปเป็นแพทย์ทหารเรือลอนดอน และได้เข้าเรียนโรงเรียนการแพทย์เซนต์บาร์โธโลมิ ในสาขาศัลยแพทย์

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, หมอเวรี่ ได้รับการแต่งตั้งให้ไปยังตะวันออกกลางซึ่งเขาได้พัฒนาหน่วยผ่าตัดเคลื่อนที่

26 กุมภาพันธ์ 1942 เขาอยู่ในกรีซ ได้รับเลื่อนตำแหน่งให้เป็นนายพัน และในปีเดียวกัน หมอเวรี่ ถูกญี่ปุ่นจับในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ขณะที่เขาเป็นผู้บัญชาการในโรงพยาบาล

ความเป็นเชลยระดับผู้นำ ไม่นานเขาก็ถูกส่งไปที่ชางยี 



มกราคม 1943 เขาและเพื่อนเชลยชาวออสเตรเลียถูกส่งมาที่กาญจนบุรีเป็นชุดแรก พร้อมกับเชลยคนอื่นๆเพื่อมาสร้างทางรถไฟสายมรณะ กรุงเทพ-ย่างกุ้ง โดยเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์


ที่นี่...ไม่มีอุปกรณ์การแพทย์และอยู่ในเขตร้อน ซึ่งมีโรคร้ายมากมาย  เขาต้องดูแและจัดหาอุปกรณ์การแพทย์และยา ทำงานตั้งแต่เชายันค่ำด้วยสองมือที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์

ในช่วงต่อมา...หมอเวรี่ก็ได้นายบุญผ่องนี่หละที่แอบจัดหามาให้...


เรื่องราวของเขาจึงกลายเป็นตำนานความกล้าหาญและเป็นวีรบุรุษในหมู่เชลย...

เช่นเดียวกับเพื่อนต่างชาติชาวไทยผู้ใจบุญ “บุญผ่อง สิริเวชภัณฑ์”…


ข่าว...นายบุญผ่อง...ชาวสยาม



หลังสงคราม...เมื่อวัน เสาร์ ที่ 10 มิถุนายน 1950 หนังสือพิมพ์ The Canberra Times (ACT : 1926 - 1995) ได้ลงข่าวดังเกี่ยวกับนายบุญผ่องของช่าวสยาม ที่ทหารชาวออสเตรเลียเป็นหนี้บุญคุณเขา

ใจความว่า


สมาคม Victorian Ex-P.O.W ได้มอบกองทุนให้กับชายชาวสยาม ผู้ทำหน้าที่ดูแลและรักษาชีวิตเชลยชาวออสเตรเลียไว้มากมาย ในขณะที่พวกเขาใช้ชีวิตการเป็นเชลยสงครามอยู่ที่ทางรถไฟสายมรณะ

ชายชาวสยามผู้นี้มีนามว่า บุญผ่อง ซึ่งเขาเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ทหารผ่านศึก P.O.W ชาวออสเตรเลีย โดยพวกเขาได้รับการบอกกล่าวจากประธานสมาคม นายDunlop

 

นาย Dunlop  กล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือเชลยมากมายในช่วงระหว่างสงครามของนายบุญผ่อง ไม่ว่าเงินมากมายซักเท่าไหร่ ก็ไม่สามารถใช้คืนนายบุญผ่องได้

เขาได้เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเพื่อส่งยารักษาชีวิตให้แก่เชลยศึกในค่ายกักกัน และในช่วงท้ายของสงครามนายบุญผ่องได้ถูกทหารญี่ปุ่นยิง




นาย Dunlop กล่าวว่าอดีตเชลยศึกและพลเรือนควรให้กองทุนแก่เขา เพราะนายบุญผ่องได้ช่วยเหลือพวกเรา ณ ช่วงเวลาที่เราคับขันจริงๆ
...

นาย Dunlop เป็นใคร แล้วเขารู้เรื่องราวนายบุญผ่องได้อย่างไร และทำไมถึงรู้อะไรมากมายขนาดนั้น...ตามเรามาเราจะเล่าให้ฟัง....




บุญผ่อง ณ ปากแพรก กาญจนบุรี

 


ณ ตึกแถว 3 ชั้นหลังแรกบนถนนปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี ขุนสิริเวชภัณฑ์ หมอใจดีแห่งร้านสิริโอสถ บิดาแห่งตระกูลผู้มั่งคั่ง "สิริเวชชะพันธ์" ผู้ให้กำเหนิดและปลูกฝังแนวคิดความเป็นคนไทยในแบบโบราณให้กับนายบุญผ่อง


"ขุนสิริเวชภัณฑ์" คนนี้แหละที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังและให้กำลังใจในยามที่บุญผ่องท้อถอย... มันไม่ง่ายนักหรอกนะที่ใครๆจะยอมให้ลูกชายและครอบครัวบุตรหลานของเขาไปเสี่ยงตายในยามสงครามขณะที่ญีปุ่นเรืองอำนาจในประเทศไทย
 
เธออีกคน "สุรัติ"หญิงเหล็ก หญิงแกร่ง แห่งปากแพรก ผู้เป็นภรรยา จะมีหญิงไทยซักกี่คนนะที่จะยอมให้ชายอันเป็นที่รักกระทำการแบบนี้

และ...นายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์   ชายหนุ่มหัวใจเพชรผู้สืบสานอุดมการณ์ความเป็นคนจากผู้เป็นพ่อ...ด้วยการเสี่ยงเอาชีวิตของตนเองและครอบครัวเป็นเดิมพัน...


เขาเป็นนักธุรกิจในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ทำมาค้าขายกับญี่ปุ่น แต่ก็แอบช่วยเหลือเชลยสร้างทางรถไฟที่อยู่ในค่ายทหารญี่ปุ่นไว้มากมาย ทั้งเงิน อาหารและสิ่งสำคัญที่สุดคือลักลอบมอบยารักษาชีวิตให้กับเหล่าเชลยสงคราม

นอกจากนี้ยังได้แอบติดต่อกับองค์กรลับ V ในการเป็นไส้ศึกส่งต่อเรื่องราวจากเชลยศึกไปสู่ฝ่ายสัมพันธมิตร



เขาคือผู้ที่ได้ช่วยชีวิตเชลยชาวต่างชาติไว้มากมาย...ในยามสงครามที่ใครๆก็กลัวการหักหลังญี่ปุ่น


บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์  วีรบุรุษที่คนไทยไม่ใคร่รู้จัก...


 " วีรบุรุษสงครามของทางรถไฟสายมรณะ " วีรบุรุษที่ฝรั่งถือเป็นฮีโร่ในดวงใจ...แต่คนไทยลืมเลือนนนนนนน.....


อย่างไรก็ตามเรื่องราวของเขาจะดำเนินต่อไป และฝังลึกอยู่บนถนนปากแพรกแห่งนี้ ...ปากแพรก กาญจนบุรี...ถนน 180 ปีที่คนไทยลืมเลือน???!!!




สงคราม ความตาย และมนุษยธรรม



สงครามเริ่มขึ้นแล้ว...กันยายน พ.ศ. 2482 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 8 ขณะนั้นเสด็จประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี

8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน

กันยายน  2485 ญี่ปุ่นต้องการอาศัยประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าเพื่อยึดอินเดีย โดยเริ่มสร้างทางรถไฟสายมรณะระยะทาง 415 กิโลเมตร จากราชบุรี กาญจนบุรี ไปพม่า ผ่านผืนป่าอันน่าสะพรีงกลัวมากมาย 


คนงานและเชลยศึกหลายหมื่นคนถูกเกณฑ์มาเพื่อภาระกิจนี้ พวกเขาทำงานตลอดวันตลอดคืน คนงานและเชลยศึกเหล่านั้นมีทั้งพม่า ชวา มลายู อังกฤษ ออสเตรเลีย และฮอลแลนด์ เจ็บปวดล้มตายและทรมาน ขาดทั้งอาหารและยา เป็นที่สมเพทเวทนาของคนไทยในสมัยนั้น

บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ คหบดีแห่งร้าน"บุญผ่อง แอนด์ บราเดอร์ "นายกเทศมนตรี วัย 40 ปี แห่งจังหวัดกาญจนบุรี  ผู้มีฐานะร่ำรวย รูปร่างสันทัด เคร่งขรึม เฉลียวฉลาด ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ และใจบุญในแบบคนไทย


ใครจะคิดว่าชายผู้นี้จะนำพาชีวิตและครอบครัวเข้าไปร่วมเสี่ยงตาย เพียงแค่เห็นใจในความเป็น" เพื่อนร่วมโลก" กับเชลยสงครามที่ตนเองไม่เคยรู้จักมาก่อน...สงครามที่มีทั้ง ความตาย และมนุษยธรรม อยู่ร่วมกัน

...สงครามทางรถไฟสายมรณะ...



บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์


กาญจนบุรีเป็นเมืองประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง เรื่องราวหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ณ ที่นี่่ ก็คือสะพานข้ามแม่น้ำแคว สะพานแห่งทางรถไฟสายมรณะสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

ความทารุณโหดร้ายของสงครามและโรคภัย   ตลาดจนขาดอาหารและยา ทำให้เชลยศึกจำนวนมากคนต้องตายจากทางรถไฟสายมรณะแห่งนี้

และที่นี่มีเรือ่งราวของวีระบุรุษคนไทยที่ชาวต่างชาติยกย่อง...แต่คนไทยมากมายไม่รู้จักเลย...เฮย!เป็นไปได้ไงนะ

นายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ ไง เป็นนักธุรกิจไทย นายกเทศมนตรี และสายลับจำเป็นแห่งองค์กรลับ V ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง



นายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ คนนี้หละ ที่แอบให้การสนับสนุนช่วยเหลือเชลยสงครามที่ถูกกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายมรณะ

Ernest Edward ‘Weary’ Dunlop ศัลยแพทย์ออสเตรเลียที่เป็นเชลยสมัยนั้น ยังได้รับความช่วยเหลือในขณะที่ถูกจับกุม

แม้กาลเวลาผ่านไป สงครามสิ้นสุดลงแล้ว แต่มิตรภาพระหว่างพวกเขาและเชลยศึกยังคงดำเนินต่อไป เหตุเพราะนายบุญผ่องเป็นคนไทยที่ไม่ไร้มนุษยธรรมนั้นเอง...

เรื่องราวของเขาจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ที่นี่...